ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Calabura, Jamaican cherry
Calabura, Jamaican cherry
Muntingia calabura L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Tiliaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Muntingia calabura L.
 
  ชื่อไทย ตะขบฝรั่ง, ตะขบ
 
  ชื่อท้องถิ่น - เพี่ยนหม่าย(เมี่ยน), ตากบ(ม้ง), หม่ากตะโก่เสะ(กะเหรี่ยงแดง) - ตะขบ (กลาง); ครบฝรั่ง (สุราษฎร์ธานี). [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้ต้น, สูง 5 – 7 ม.; เปลือกสีเทา, กิ่งแผ่สาขาขนานกับพื้นดิน, ตามกิ่งมีขนปกคลุม, ขนนุ่ม และปลายเป็นตุ่ม, ยอดอ่อนเมื่อจับดู, จะรู้สึกเหนียวมือเล็กน้อย.
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับแบบทแยงกัน, รูปขอบขนานแกมรูปไข่, กว้าง 1.5 – 3.5 ซม., ยาว 4.5 – 9 ซม.; ปลายใบเรียวแหลม; โคนใบข้างหนึ่งมนข้างหนึ่งแหลม; ขอบใบหยัก; มีขนปกคลุมหนาแน่น; เส้นใบมี 3 – 5 เส้น, ด้านบนสีเขียว, ด้านล่างสีนวล; ก้านใบยาว 0.2 – 0.6 ซม., มีขน, โคนก้านเป็นปม ๆ .
ดอก ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ เหนือง่ามใบ, เวลาบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม., ก้านดอกยาว 1.5 – 1.6 ซม., มีขน; กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ, ไม่ติดกัน, สีเขียว, รูปหอก, กว้างประมาณ 3 มม., ยาวประมาณ 10 – 12 มม.; ปลายแหลมเป็นหางยาว, โคนกลีบตัด, ด้านนอกมีขน, ด้านในเกลี้ยง; กลีบดอก 5 กลีบ, สีขาว รูปไข่กลับป้อม ๆ , ย่น, เกลี้ยง, กว้างประมาณ 9 มม., ยาวประมาณ 11 มม.; เกสรผู้จำนวนมาก, ก้านเกสรยาว 5 – 6.5 มม., เกลี้ยง; เกสรเมียก้านเกสรสั้น, ภายในมี 5 – 6 ช่อง, แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมาก.
ผล กลม, ผิวบางเรียบ, เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75 – 1.5 ซม., สุกสีแดง, รสหวาน, กินได้. เมล็ด เล็กๆ จำนวนมาก. [6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงสลับแบบทแยงกัน, รูปขอบขนานแกมรูปไข่, กว้าง 1.5 – 3.5 ซม., ยาว 4.5 – 9 ซม.; ปลายใบเรียวแหลม; โคนใบข้างหนึ่งมนข้างหนึ่งแหลม; ขอบใบหยัก; มีขนปกคลุมหนาแน่น; เส้นใบมี 3 – 5 เส้น, ด้านบนสีเขียว, ด้านล่างสีนวล; ก้านใบยาว 0.2 – 0.6 ซม., มีขน, โคนก้านเป็นปม ๆ .
 
  ดอก ดอก ออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ เหนือง่ามใบ, เวลาบานมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม., ก้านดอกยาว 1.5 – 1.6 ซม., มีขน; กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ, ไม่ติดกัน, สีเขียว, รูปหอก, กว้างประมาณ 3 มม., ยาวประมาณ 10 – 12 มม.; ปลายแหลมเป็นหางยาว, โคนกลีบตัด, ด้านนอกมีขน, ด้านในเกลี้ยง; กลีบดอก 5 กลีบ, สีขาว รูปไข่กลับป้อม ๆ , ย่น, เกลี้ยง, กว้างประมาณ 9 มม., ยาวประมาณ 11 มม.; เกสรผู้จำนวนมาก, ก้านเกสรยาว 5 – 6.5 มม., เกลี้ยง; เกสรเมียก้านเกสรสั้น, ภายในมี 5 – 6 ช่อง, แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมาก.
 
  ผล ผล กลม, ผิวบางเรียบ, เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75 – 1.5 ซม., สุกสีแดง, รสหวาน, กินได้. เมล็ด เล็กๆ จำนวนมาก. [6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(เมี่ยน,ม้ง,กะเหรี่ยงแดง)
- ต้น น้ำต้มเปลือก, กินเป็นยาระบาย, เพราะมีสารพวก mucilage มาก
ดอก ดอกแห้ง, ชงกินเป็นยาแก้ปวดศีรษะ, แก้หวัด, ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร , ลดไข้ , ต้มรวมกับสมุนไพรอื่น ๆ, กินเป็นยาขับระดูและแก้โรคตับอักเสบ
ผล ผลสุกมีกลิ่นหอมและกินได้ [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง